ข้อมูลทั่วไป
- หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) มีอายุ 5 ปี และ 10 ปี ไม่สามารถต่ออายุในเล่มเดิมได้
- ข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทางจะอ้างอิงตามข้อมูลในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทยเป็นหลัก ดังนั้น ชื่อ นามสกุล
ในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับ หลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนของผู้ร้อง โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม หากผู้ร้องต้องการใช้นามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องดำเนินการแก้ไขข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ที่สำนักงานเขต/อำเภอที่ประเทศไทยก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ - โดยที่การทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ลายนิ้วมือ และภาพถ่ายใบหน้า
ของผู้ร้อง ดังนั้น ผู้ร้องจะต้องมาทำหนังสือเดินทางด้วยตนเองเท่านั้น
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการบริการด้านกงสุล
ระยะเวลาในการดำเนินการ
ประมาณ 3-6 สัปดาห์ เนื่องจากต้องส่งกลับไปที่ประเทศไทยเพื่อผลิตเล่ม
การนัดหมาย
โปรดนัดหมายออนไลน์ล่วงหน้า
เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
1. สำหรับบุคคลทั่วไป
- แบบฟอร์มคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) และสำเนา
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)
- สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า (หากมี)
- กรณีที่หนังสือเดินทางเล่มเก่าสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
- แบบฟอร์มคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ฉบับจริง) และสำเนา
- สูติบัตรไทย และสำเนา (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (ฉบับจริง) และสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ (หากมี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
- สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา/มารดา (เฉพาะบิดา/มารดาที่เป็นชาวต่างชาติ)
- บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันยื่นคำร้อง ทั้งนี้ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไป
ต่างประเทศ โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขต อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่สถานเอกอัครราชทูต
สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ - กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ หากทั้งบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าที่ได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้พาผู้เยาว์มาทำหนังสือเดินทาง โดยผู้รับมอบอำนาจต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับอำนาจ และหนังสือยินยอมจากบิดาและมารดาให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขต อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ
- กรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมได้เพียง
ฝ่ายเดียว โดยแสดงหนังสือปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เป็นหลักฐานยืนยัน - กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่มาลงนามให้ความยินยอมได้เพียง
ฝ่ายเดียว โดยแสดงใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหลักฐานยืนยัน - กรณีอื่น ๆ ที่ต้องมีคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง ได้แก่ กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต กรณีบิดาหรือมารดา
ผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติ มิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาลงนามให้คำยินยอมได้ กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมา โดยตลอดและมารดายังมีชีวิตอยู่
3. สำหรับพระภิกษุสงฆ์
- แบบฟอร์มคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ฉบับจริง) และสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้าน/วัด
- หนังสือสุทธิ
- หนังสืออนุมัติจากศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศตภ.)
- สำเนาใบตราตั้งฐานานุกรม ในกรณีที่พระภิกษุการเปลี่ยนแปลงสมณะศักดิ์
- เอกสารประกอบ อาทิ ใบตราตั้งสัญญาบัตร ใบเปรียบธรรม ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ใบตราตั้งเจ้าคณะตำบล ใบฐานานุกรม (ชั้นพิเศษ)
- กรณีสามเณรอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากเจ้าอาวาส ซึ่งระบุข้อความว่า ยินยอมให้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศมาแสดงด้วย
การรับเล่ม
- ผู้ร้องสามารถรับเล่มหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง โดยนัดหมายออนไลน์ ล่วงหน้า และนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
- ในกรณีที่ไม่สามารถรับเล่มด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทน โดยนัดหมายออนไลน์
ล่วงหน้า และนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย